วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


เหล้าสาโทสาโท (Sato) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ผ่านการกลั่น จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดไวน์ข้าว(Rice wine) เช่นเดียวกับสาเก (Sake) ผลิตโดยใช้ข้าวเหนียวนึ่ง นำมาล้างเมือกข้าวออกให้หมด ปล่อยให้แห้งจากนั้นคลุกเคล้าด้วยหัวเชื้อแห้งที่เรียกว่าลูกแป้ง (Lookpang)ซึ่งหัวเชื้อมีส่วนผสมของเชื้อราและยีสต์ โดยเชื้อราทำหน้าที่ผลิตอะไมเลสมาย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า saccharification (นภา โล่ห์ทอง, 2534) ส่วนยีสต์ในลูกแป้งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มนี้นิยมผลิตกันมากในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศจีนเรียกว่า chao-ching-yu ในประเทศญี่ปุ่นเรียก Japanese liqueur ส่วนในประเทศไทย เครื่องดื่มในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน โดยอาจมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันบ้าง เช่น กระแช่ (Krachae) เหล้าอากุน ((Lao-argoon) น้ำขาว (Nam-khao) ส่วนคำ ที่นิยมและเป็นที่รู้จักดีในปัจจุบันคือ สาโท (Geoffrey, 1987) กระบวนการผลิตสาโทเกิดได้ 2 ขั้นตอนคือ การย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล และการหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ สำหรับประเทศไทยแล้วการผลิตสาโทและลูกแป้งสาโทจัดเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพราะนอกจากจะได้สาโทชนิดดั้งเดิมที่เติมน้ำต้มในขั้นตอนของการหมักแอลกอฮอล์แล้วยังสามารถปรับเปลี่ยนรสชาติ สี และกลิ่นของสาโทได้โดยใช้น้ำสกัดจากวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นบ้านของไทยเติมลงไปในระหว่างการหมัก ทำให้ได้สาโทที่มีกลิ่นและรสออกมามากมาย เช่น สาโทองุ่น สาโทสับปะรด สาโทรสส้ ม ส า โ ท ม ะ เ กี่ ย ง แ ล ะ ส า โ ท เ ม น ท อ ลกล้าเชื้อที่ใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตสาโท เรียกว่าลูกแป้ง ผลิตจากข้าว มีการเติมสมุนไพรบางชนิด มีลักษณะเป็นผง เชื้อราที่พบในลูกแป้งได้แก่ Amylomycesและ Aspergillus (Lotong, 1998) ส่วนเชื้อยีสต์ที่ทำหน้าหมักน้ำตาล ได้แก่ Saccharomyces cerevisiae และ S.sake โดยลักษณะของสาโทที่ได้มีทั้งใสและขุ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตและความต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามการที่จะได้สาโทชนิดใหม่ขึ้นมาสามารถพัฒนาได้โดยปรับเปลี่ยนกลิ่นและรสชาติให้แตกต่างไปจากเดิม เช่นการเติมน้ำสกัดจากสมุนไพร หรือน้ำผลไม้บางชนิดในขั้นตอนของการหมักจะได้สาโทที่มีกลิ่นตามชนิดของน้ำที่เติมลงไปซึ่งจะได้สาโทชนิดใหม่ ๆ อันเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่นิยมบริโภคสาโทตำราการทำแป้งเหล้าโดยพ่อทองพูน พันมากบ้านเลขที่ 20 หมู่ 12 บ้านโรงบ่ม ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น